สิ่งที่คนประสบความสำเร็จทำ ก่อนเวลาอาหารเช้า  

3123697352_623ebf69e7_o.jpg

ช่วงเวลาเช้าคือช่วงเวลาที่สมองมีความปลอดโปร่งหลังจากที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่ใช้ในการทำสิ่งที่สำคัญสำหรับร่างกาย จิตใจ รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ วางแผนงานต่างๆ

แต่เวลาเช้าเป็นเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ไหนจะต้องเตรียมตัวออกจากบ้าน ฝ่ารถติด คนแน่นใน BTS หรือ กองเอกสาร อีเมลที่รอการสะสางเมื่อเริ่มทำงาน เราจะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไร

Laura Vanderkam ผู้เขียน What The Most Successful People Do Before Breakfast ที่สนใจด้านการบริหารจัดการเวลา เธอมีโอกาสได้ศึกษาวิจัยปฏิทินและตารางงานหลายร้อยชิ้นของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งหลาย ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เธอสรุปออกมาได้เป็น บันได 5 ขั้น สู่นิสัยตอนเช้าแบบคนประสบความสำเร็จ

4961717384_f4da868db6_b.jpg
1 สืบเวลา Track Your Time

ก่อนที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนนิสัย ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เราใช้เวลาในการทำอะไรตอนนี้! สำหรับคนที่กำลังลดน้ำหนัก วิธีที่ได้ผลชงัดคือการจดสิ่งที่เรากินตลอดทั้งวัน เป็นการสร้างกรอบเพื่อให้เรามีสติกับสิ่งที่ทำมากขึ้น เรื่องเวลาก็เช่นกัน คุณควรจะเริ่มจดสิ่งที่ทำในตอนเช้า จดลงสมุดโน๊ตเล็กๆ หรือใช้แอพในมือถือก็สะดวกสำหรับคนยุคใหม่

หลังจากนั้นก็รวบรวมมาดูกันทั้งสัปดาห์ ว่าเราใช้เวลาในช่วงเช้าไปกับอะไรบ้าง เช่น เราอาจจะพบว่าเราใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปกับการนอน เล่นมือถือ หรือ นั่งดูคนเล่าข่าวในทีวี เราอาจพบว่าเราสามารถเตรียมงานเล็กๆ น้อยๆ ไปทำบนรถ หรือ แทนที่จะเป็นเวลาแห่งข่าวสารเบาๆ หรือความบันเทิง เราสามารถใช้เวลานั้นเพื่อเรียนภาษาเพิ่มเติมไประหว่างขับรถได้สบายๆ

หลายคนอาจพบว่า ไม่สามารถตื่นเช้า หรือรู้สึกไม่สดชื่นเพราะนอนหลับไม่เพียงพอ เราควรนอนหลับให้เร็วขึ้น จากสถิติ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในเวลากลางคืน หากว่าเราต้องการดูรายการทีวีดึกๆ ก็เปลี่ยนมาเปิดย้อนหลังตอนคุณกำลังออกกำลังกายตอนเช้าแทน

6663115223_4dfc81bb15_z.jpg
2 จินตนาการเวลา Picture The Perfect Morning

ขั้นต่อมา เรามาลองจินตนาการว่า เวลาเช้าที่เพอร์เฟคท์ที่สุดของเราควรเป็นอย่างไร สำหรับ Laura การเริ่มวันด้วยการวิ่งออกกำลัง ต่อด้วยทานอาหารเช้าพร้อมกันทั้งครอบครัว หลังจากเด็กไปโรงเรียนและสามีออกไปทำงาน ก็จะโฟกัสไปที่งานหนังสือ และนี่ก็คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับคุณ

3 สมดุลเวลา Think Through the Logistics

เราจะทำอย่างไรให้สิ่งที่เราจินตนากาารนั้นเป็นจริง ถ้าหากว่าจะต้องเพิ่มรายการทั้งหมดทั้งปวงลงไปในตารางเวลาเช้าที่แสนจะคับแคบอยู่แล้ว ลองมาดูดีๆ ว่านิสัยไม่ดีอะไรที่เราควรตัดออก เวลาไหนควรเข้านอน เวลาไหนควรตื่นเพื่อให้ได้เวลานอนที่พอเพียง จะตั้งนาฬิกาปลุกอย่างไรให้เราตื่นนอนได้อย่างที่คิดไว้

หลักจากที่ตั้งเป้าอย่างมุ่งมั่นแล้ว ไม่กี่วันถัดมาคุณอาจจะมีข้ออ้างที่จะทำให้คุณผลัดวันประกันพรุ่ง การวางแผนและความมุ่งมั่นที่พอเหมาะ คือสิ่งที่คุณจะต้องปรับไปในระหว่างทาง

10030609906_8f8bbd2c55_c.jpg
4 สร้างสมนิสัย Build the Habit

นี่คือขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เป็นการเปลี่ยนจากความมุ่งมั่นไปสู่นิสัย ทำตาม 5 ข้อต่อไปนี้

8720988594_19423896a9_z.jpg
5 ปรับเปลี่ยนระหว่างทาง Tune Up as Necessary

แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ชีวิตเปลี่ยน เป้าหมายก็เปลี่ยนตาม บางครั้งเราอาจจะต้องเพิ่ม ลด จัดกลุ่มกันใหม่ เพื่อให้ทุกวันนั้นเต็มไปด้วยคำว่า “เป็นไปได้”

ความพิเศษของเวลาเช้าคือ เป็นช่วงเวลาที่เรารู้สึกได้ถึงการเริ่มใหม่หรือโอกาสที่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน เวลาเช้าก่อนทานอาหารจึงเป็นเวลาที่สำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้ผ่านไปแบบขาดสติและแผนการ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราบอกกับตัวเองว่าเราไม่มีเวลาที่จะทำ… เราสามารถบอกกับตัวเองว่า ถ้าเราตื่นได้เช้ากว่านี้ สิ่งนั้นก็น่าจะ “เป็นไปได้”

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง คุณคิดว่าคุณอยากจะใช้เวลาเช้าของคุณแบบไหน? อาจจะให้เวลาตัวเองในการคิด ทบทวน และตัดสินใจ การสร้างนิสัยในเวลาเช้า เมื่อเริ่มลงตัวก็จะส่งผลไปถึงเวลาในช่วงอื่นๆ ของวันด้วยเช่นกัน และก็จะส่งผลไปสู่ชีวิตในภาพรวมในที่สุด

วันนี้ผมว่าจะเข้านอนให้เร็วขึ้น 15 นาที แล้วล่ะ…

15951972607_70a32a5e0f_z.jpg

เนื้อหา FastCompany

เขียนโดย Laura Vanderkam

แปลและเรียบเรียงโดย ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ผู้ก่อตั้ง บุญมีแล็บ และ Wityu.fm

ภาพจาก Flickr Common
1 George Eastman House
2 Sean MacEntee
3 Total Due
4 O.Viera
5 Mychkine
5 Corey Seeman

 
15
Kudos
 
15
Kudos

Now read this

Future of team communication

In any projects, our communication links people together as a team. It’s the key factor that effects how well the workflow is going to be. The problem is we still don’t settle on any tools to manage our team communication that gets more... Continue →